
จากเหตุการณ์กระทรวงการต่างประเทศในสหรัฐฯ ได้เลิกจ้างเจ้าหน้าที่ราชการหลายจำนวน เพื่อต้องการลดขนาดหน่วยงานราชการ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น”
ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ของโลก อย่างเช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางหรือแม้แต่สงครามการค้ากับจีน”
การปฏิรูปของสหรัฐฯ ครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เคยประกาศในช่วงหาเสียง ในการแสดงออกต่อหน่วยงานราชการว่าเป็น “รัฐพันลึก” (Deep State) ที่มีจุดยืนเพื่อลดบทบาทของรัฐบาลกลางบางส่วน”
การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบาย “America First” แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่านโยบายนี้ทำเพื่อประชาชนอเมริกันจริง หรือแค่รักษาอำนาจ ?
นโยบายสะท้อนความชาตินิยมที่ทรัมป์ต้องการผลักดันให้อเมริกากลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ และสร้างความมั่นคงด้านเสถียรภาพของรัฐบาล ประเทศชาติ และเวทีโลก ซึ่งการปรับโครงสร้าง และหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็น อาจเป็นผลดีสำหรับประเทศมากกว่า อย่างเช่น เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ
การให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นในด้านสงครามการค้าอย่าง “ภาษีตอบโต้” ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศ ซึ่งทรัมป์มองว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ เสียเปรียบ และขาดดุลการค้าให้กับหลายประเทศ จึงได้ใช้การขึ้นภาษีในครั้งนี้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรม และตำแหน่งงานภายในประเทศ ให้เกิดผลประโยชน์กับคนในชาติมากที่ฟสุด
แต่ในทางกลับกันแนวทางการปฏิบัตินี้ ก็เหมือนเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับหลายประเทศ ที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะยาวได้ อย่างเช่น การมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อจีนหรือการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจของโลกอย่างรุนแรง
เพราะประเทศเหล่านี้นับว่าเป็นผู้เล่นหลักในห่วงโซ่อุปทานโลก การสร้างแรงสั่นสะเทือนดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อการค้า และการลงทุนต่อประเทศอื่นๆ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลกระทบย้อนกลับมาสู่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เอง
สุดท้ายแล้วนโยบาย "America First" เป็นทั้งการแสดงออกถึงชาตินิยมที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของคนในประเทศ และอาจเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อรักษาฐานการสนับสนุน และอำนาจทางการเมืองเพื่อให้สหรัฐยังรักษาการเป็น “ประเทศมหาอำนาจ” ของโลกต่อไปได้
ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ของโลก อย่างเช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางหรือแม้แต่สงครามการค้ากับจีน”
การปฏิรูปของสหรัฐฯ ครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เคยประกาศในช่วงหาเสียง ในการแสดงออกต่อหน่วยงานราชการว่าเป็น “รัฐพันลึก” (Deep State) ที่มีจุดยืนเพื่อลดบทบาทของรัฐบาลกลางบางส่วน”
การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบาย “America First” แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่านโยบายนี้ทำเพื่อประชาชนอเมริกันจริง หรือแค่รักษาอำนาจ ?
ทำไมต้อง “America First” ใครได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ ?
นโยบายสะท้อนความชาตินิยมที่ทรัมป์ต้องการผลักดันให้อเมริกากลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ และสร้างความมั่นคงด้านเสถียรภาพของรัฐบาล ประเทศชาติ และเวทีโลก ซึ่งการปรับโครงสร้าง และหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็น อาจเป็นผลดีสำหรับประเทศมากกว่า อย่างเช่น เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ
การให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นในด้านสงครามการค้าอย่าง “ภาษีตอบโต้” ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศ ซึ่งทรัมป์มองว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ เสียเปรียบ และขาดดุลการค้าให้กับหลายประเทศ จึงได้ใช้การขึ้นภาษีในครั้งนี้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรม และตำแหน่งงานภายในประเทศ ให้เกิดผลประโยชน์กับคนในชาติมากที่ฟสุด
แต่ในทางกลับกันแนวทางการปฏิบัตินี้ ก็เหมือนเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับหลายประเทศ ที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะยาวได้ อย่างเช่น การมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อจีนหรือการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจของโลกอย่างรุนแรง
เพราะประเทศเหล่านี้นับว่าเป็นผู้เล่นหลักในห่วงโซ่อุปทานโลก การสร้างแรงสั่นสะเทือนดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อการค้า และการลงทุนต่อประเทศอื่นๆ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลกระทบย้อนกลับมาสู่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เอง
สุดท้ายแล้วนโยบาย "America First" เป็นทั้งการแสดงออกถึงชาตินิยมที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของคนในประเทศ และอาจเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อรักษาฐานการสนับสนุน และอำนาจทางการเมืองเพื่อให้สหรัฐยังรักษาการเป็น “ประเทศมหาอำนาจ” ของโลกต่อไปได้
แท็กที่เกี่ยวข้องข่าว
AmericaFirstUSAGlobaltechTechMovementMoveForBetterTH