
ตอนนี้คนไทยหันมาใช้ E-Commerce เป็นช่องทางหลักในการซื้อสินค้า ส่งผลให้ตลาด E-Commerce ในไทย ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ 2 ใน 3 ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยถูกครอบครองโดยแพลตฟอร์มต่างชาติ
ซึ่งทุกครั้งที่เราซื้อของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เราไม่ได้จ่ายแค่เงิน แต่เรายังจ่ายข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้แพลตฟอร์ม ทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร บัตรเครดิต รวมถึงประวัติการสั่งซื้อ และในบางแพลตฟอร์มยังมีการให้กู้เงินและบริการผ่อนชำระ ทำให้ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินมหาศาลถูกรวบรวมไว้ในระบบหลังบ้านที่เราไม่มีทางเห็น และไม่รู้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะถูกใช้ยังไงและใช้โดยใครบ้าง
ในขณะเดียวกัน บางแพลตฟอร์มกลับปล่อยให้ร้านค้าที่ไม่มีตัวตนมาขายของปลอมได้ เมื่อเกิดปัญหากับผู้บริโภค แพลตฟอร์มมักไม่มีการรับผิดชอบใดๆ เพราะอ้างว่าเป็นแค่ตัวกลางในการซื้อขายเท่านั้น ทั้งที่ธุรกรรมจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มพวกเขาทั้งหมด
เมื่อแพลตฟอร์มเหล่านี้มีอิทธิพลต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ภาครัฐฯต้อง เข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจและสิทธิของผู้บริโภค
10 ก.ค.68 ที่ผ่านมา จึงมีกฎหมายบังคับให้ แพลตฟอร์ม E-Commerce ทั้งหมด 19 แพลตฟอร์ม
ตามเอกสารประกาศราชกิจจาฯ เปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด มีระบบตรวจสอบผู้ขายที่ชัดเจน และต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตัวเองหากมีการโกงผู้ซื้อ
โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ต้องปฏิบัติตาม มาตรา 20 ซึ่งครอบคลุมข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน
แท็กที่เกี่ยวข้องข่าว