มั่นใจแค่ไหนว่าสิ่งที่เห็น_“เจนหรือจริง”__.webp

สังคม

มั่นใจแค่ไหนว่าสิ่งที่เห็น “เจนหรือจริง” ?

Clock Icon

30 มิถุนายน 2568

Facebook IconLine IconX Icon
ตอนนี้กระแส AI ที่สามารถทำภาพและวิดีโอออกมาที่ “เนียนจนเกือบแยกไม่ได้” เต็มหน้าฟีด ที่เหมือนใช้คนจริงตั้งแต่สีผิว สำเนียงการพูด การเคลื่อนไหว ไปจนถึงสายตาที่ดูมีชีวิตจริง โดยเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการสร้างผลงานให้กับคนที่ไม่ชอบออกกล้อง รวมถึงยังลดค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์ Production ที่คนธรรมดาก็มีนักแสดง AI ส่วนตัวได้ ไม่ต้องเช่ากล้อง ไม่ต้องจ้างคน ก็ทำคลิประดับมือโปรแบบง่ายๆ

แต่ขณะเดียวกัน ความสมจริงนี้ก็กำลังเปิด “ช่องว่าง” ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ ในยุคที่มิจฉาชีพปรับตัวได้ไวจนตั้งรับไม่ทัน

ซึ่งล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่าในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.68 มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคพุ่งเกือบ 40% โดยส่วนใหญ่ถูกหลอกด้วย “โฆษณาปลอม” ที่ใช้ภาพหรือวิดีโอ AI สมจริงมาโฆษณาเกินจริง จนผู้บริโภคหลงเชื่อ

อ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าถ้าต่อไป AI ถูกใช้สร้าง “ข่าวปลอม” อย่างแนบเนียน และเผยแพร่ออกไปจะทำอย่างไร ? เพราะแค่คลิปปลอมไม่กี่วินาที อาจทำให้คนเชื่อว่านั่นคือ “เรื่องจริง” ที่บิดเบือนข้อเท็จจริงจนกลายประเด็นทางสังคม หรือทำให้ทั้งสังคมหันมารุมประณามใครบางคน ทั้งที่สิ่งนั้น ไม่เคยเกิดขึ้นจริง

ซึ่งตอนนี้ในบางแพลตฟอร์ม ก็มีระบบให้ครีเอเตอร์ที่ใช้ AI สร้างคลิป ติดป้ายกำกับเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของผู้ชมบ้างแล้ว แม้ยังไม่บังคับใช้ แต่ก็มีเงื่อนไขว่า หากผู้ใช้งานแพลตฟอร์มพบเห็น คลิป AI ที่ไม่ได้ติดป้ายกำกับ ก็สามารถรายงานได้ เพราะบางคนยังแยกไม่ออก และอาจเกิดความสับสนในข้อมูล การพัฒนาระบบตรวจจับ AI ให้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นอย่างมาก

แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้เองต้องมีวิจารณญาณในการเสพสื่อ ไม่หลงหลงเชื่อหรือแชร์ข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน โดยเฉพาะในยุคนี้ ที่เทคโนโลยีสร้างสรรค์เนื้อหาได้สมจริงและรวดเร็ว

แท็กที่เกี่ยวข้องข่าว

AIVeo3FakenewsLocaltechTechMovementMoveForBetterTH

ข่าวที่เกี่ยวข้อง