
องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประกาศว่าตอนนี้โลกได้สิ้นสุด “ยุคโลกร้อน” และเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด” แล้ว จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่น่ากลัว อีกทั้งสถานการณ์ไฟป่าที่รุนแรงมากขึ้นในหลายประเทศ
เป็นเหตุผลที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ให้ความสำคัญกับ Carbon Neutrality และ Net Zero เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน สาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
ขณะเดียวกัน แม้สหรัฐฯ หนึ่งในประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุด ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ข้อตกลงระดับโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซอย่างจริงจัง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความตั้งใจของการเดินหน้าแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศของ ประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป จีน และอินเดีย ลดลง เพราะผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกเดือด ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบไปทั่วโลก
ตอนนี้หลายประเทศเริ่มสร้างแรงจูงใจในการลดคาร์บอน เพื่อก้าวเข้าสู่ Net Zero โดยใช้กลไก Carbon Tax (ภาษีคาร์บอน) และ Carbon Credit (คาร์บอนเครดิต) กระตุ้นให้หลายองค์กรเข้าร่วม
หากองค์กรไหนปล่อยคาร์บอนน้อยจะได้ “คะแนนคาร์บอนเครดิต” มากขึ้น เหมือนเป็นแต้มสะสมที่ช่วยลดภาษี หรือนำไปขายต่อได้ แต่ถ้าปล่อยเยอะ ก็ต้องจ่าย “ภาษีคาร์บอน” มากขึ้น ซึ่งต่อไปการปล่อยคาร์บอนจะถูกคิดเป็น “ต้นทุน” ที่ใครไม่จัดการวันนี้ อาจต้องจ่ายแพงกว่าในวันหน้า
ส่วนของไทยเอง รัฐบาลเริ่มบังคับใช้ภาษีคาร์บอน กับสินค้าน้ำมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแล้ว โดยกำหนดอัตราราคาที่ 200 บาทต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน ซึ่งจะถูกรวมกับภาษีสรรพสามิตเดิมของดีเซล แก๊สโซฮอล์ และ LPG โดยไม่เพิ่มภาระภาษีต่อผู้บริโภคโดยตรง
ส่วนคาร์บอนเครดิตในไทยยังเป็น “ระบบสมัครใจ” ที่มีสิทธิประโยชน์สำหรับองค์กร โดยเริ่มวัดและลดคาร์บอนอย่างจริงจัง เช่น การขายคาร์บอนเครดิตผ่านระบบ T VER ที่ช่วยให้องค์กรได้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ 100% ในช่วง 3 ปีแรก
ข้อมูลคาร์บอนอาจกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าองค์กรไม่รู้ว่า “ปล่อยจากอะไร และปล่อยเท่าไหร่” ก็จะไม่สามารถบริหารจัดการ เพื่อลดคาร์บอนได้อย่างตรงจุด
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัท วัน ไคลเมท จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์ม One Climate ขึ้นมา สำหรับช่วยบันทึก และคำนวณข้อมูลเหล่านี้ ที่ทำให้เห็นภาพรวมการปล่อยคาร์บอน ว่าในแต่ละปี มีกิจกรรมอะไร ที่บอกว่าองค์กรปล่อยคาร์บอนไปมากน้อยแค่ไหน เพื่อบริหารจัดการและวางแผนการลดคาร์บอนอย่างเป็นระบบ
เพราะท้ายที่สุดแล้ว ในระยะยาวนโยบายนี้ จะทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green & Climate Technology) และการขยายการลงทุนกับกลุ่มพลังงานสะอาด, พลังงานทดแทนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ Zero-Carbon ได้ในอนาคต
เป็นเหตุผลที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ให้ความสำคัญกับ Carbon Neutrality และ Net Zero เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน สาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
ขณะเดียวกัน แม้สหรัฐฯ หนึ่งในประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุด ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ข้อตกลงระดับโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซอย่างจริงจัง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความตั้งใจของการเดินหน้าแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศของ ประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป จีน และอินเดีย ลดลง เพราะผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกเดือด ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบไปทั่วโลก
เพราะลดคาร์บอนไม่ใช่เรื่องง่าย แรงจูงใจที่ดีจึงสำคัญ ?
ตอนนี้หลายประเทศเริ่มสร้างแรงจูงใจในการลดคาร์บอน เพื่อก้าวเข้าสู่ Net Zero โดยใช้กลไก Carbon Tax (ภาษีคาร์บอน) และ Carbon Credit (คาร์บอนเครดิต) กระตุ้นให้หลายองค์กรเข้าร่วม
หากองค์กรไหนปล่อยคาร์บอนน้อยจะได้ “คะแนนคาร์บอนเครดิต” มากขึ้น เหมือนเป็นแต้มสะสมที่ช่วยลดภาษี หรือนำไปขายต่อได้ แต่ถ้าปล่อยเยอะ ก็ต้องจ่าย “ภาษีคาร์บอน” มากขึ้น ซึ่งต่อไปการปล่อยคาร์บอนจะถูกคิดเป็น “ต้นทุน” ที่ใครไม่จัดการวันนี้ อาจต้องจ่ายแพงกว่าในวันหน้า
ส่วนของไทยเอง รัฐบาลเริ่มบังคับใช้ภาษีคาร์บอน กับสินค้าน้ำมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแล้ว โดยกำหนดอัตราราคาที่ 200 บาทต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน ซึ่งจะถูกรวมกับภาษีสรรพสามิตเดิมของดีเซล แก๊สโซฮอล์ และ LPG โดยไม่เพิ่มภาระภาษีต่อผู้บริโภคโดยตรง
ส่วนคาร์บอนเครดิตในไทยยังเป็น “ระบบสมัครใจ” ที่มีสิทธิประโยชน์สำหรับองค์กร โดยเริ่มวัดและลดคาร์บอนอย่างจริงจัง เช่น การขายคาร์บอนเครดิตผ่านระบบ T VER ที่ช่วยให้องค์กรได้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ 100% ในช่วง 3 ปีแรก
ข้อมูลคาร์บอนอาจกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าองค์กรไม่รู้ว่า “ปล่อยจากอะไร และปล่อยเท่าไหร่” ก็จะไม่สามารถบริหารจัดการ เพื่อลดคาร์บอนได้อย่างตรงจุด
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัท วัน ไคลเมท จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์ม One Climate ขึ้นมา สำหรับช่วยบันทึก และคำนวณข้อมูลเหล่านี้ ที่ทำให้เห็นภาพรวมการปล่อยคาร์บอน ว่าในแต่ละปี มีกิจกรรมอะไร ที่บอกว่าองค์กรปล่อยคาร์บอนไปมากน้อยแค่ไหน เพื่อบริหารจัดการและวางแผนการลดคาร์บอนอย่างเป็นระบบ
เพราะท้ายที่สุดแล้ว ในระยะยาวนโยบายนี้ จะทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green & Climate Technology) และการขยายการลงทุนกับกลุ่มพลังงานสะอาด, พลังงานทดแทนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ Zero-Carbon ได้ในอนาคต
แท็กที่เกี่ยวข้องข่าว
OneClimateCarbonNeutralityNetZeroSustainabilityTechMovementMoveForBetterTH
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความยั่งยืน
กักเก็บพลังงานสะอาด ด้วยแบตเตอรี่ยักษ์จากธรรมชาติ


ความยั่งยืน
พลาสติกละลายน้ำได้ ! ทางออกปัญหามลพิษจากขยะ


ความยั่งยืน
2025 ปีแห่งสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ


ความยั่งยืน
T-CAVs และการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต
